Monday, August 17, 2015

การเก็บและอัดใบอ้อยในเชิงอุตสาหกรรม

                ใบอ้อยซึ่งเป็นเศษวัสดุจากการเก็บเกี่ยวอ้อยของอุตสาหกรรมน้ำตาล  โดยปกติเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจะเผาทิ้งเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดไฟใหม่ไร่อ้อยที่ควบคุมไม่ได้ แต่ใบอ้อยนับเป็นวัตถุดิบชั้นดีของโรงไฟฟ้าชีวมวล(Biomass plant) เพราะให้ค่าความร้อนได้ประมาณ 3,800 cal./Kg.ที่ความชื้น 12-15% โดยในการผลิตไฟฟ้า 1 MW จะใช้ใบอ้อยราว 1.7-2.2 ตัน แล้วแต่ค่าความชื้นของใบ้อ้อยที่นำมาป้อนเตาเผา อุปสรรคที่สำคัญสำหรับการนำใบอ้อยมาป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลคือ
     1) ความฟ่าม(bulky) ทำให้ใบอ้อยกินเนื้อที่มากทั้งในการขนส่งและการเก็บรักษา
     2) ซิลิก้า(Silica)ที่มีอยู่ในใบอ้อย ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกระดาษทราย ทำให้เครื่องจักรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมต้องทำงานหนักและถูกซิลิก้าในใบอ้อยกัดกร่อนอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถทำงานได้ในที่สุด
บริษัท เบสต์ ไบโอเอ็นเนอร์จี จำกัด มีทางออกสำหรับการเก็บใบอ้อยในเชิงอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ  เราเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากบริษัท โครเน่ (KRONE) จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรชั้นนำของโลก ในธุรกิจการเก็บใบอ้อย โครเน่ ได้วิจัยและพัฒนาBiG Pack HDP II เครื่องจักรที่สามารถเก็บและอัดใบอ้อยที่มีศักยภาพสูงที่สุดในโลก กล่าวคือ
-สามารถอัดใบอ้อยได้เร็วกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมราว 20% จึงทำให้ประหยัดเวลาและพลังงาน
-มีน้ำหนักของฟ่อนใบอ้อยอัดสูงกว่าค่าเฉลี่ยราว 100% หรือ 620 Kg. ต่อฟ่อนก้อนใบอ้อย (ค่าเฉลี่ยของเครื่องอัดฟางทั่วไปอยู่ที่ 310 Kg.) ทำให้เกิดความประหยัดที่ใช้จ่ายทั้งด้านพื้นที่การขนส่งและด้านพื้นที่ในการเก็บรักษา
-มีการออกแบบชิ้นส่วนที่สัมผัสกับใบอ้อยให้ทนต่อการขัดสีของซิลิก้าในใบอ้อย จึงทำให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงทำให้เกิดความประหยัดด้านการบริหารอะไหล่สำรอง
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวจึงทำให้เครื่องอัดใบอ้อยของโครเน่สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรมการเก็บใบอ้อยสูงที่สุดในโลกมาเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ..นอกจากใบอ้อยแล้วเครื่องจักรของโครเน่ยังมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถอัดชานอ้อย(bagasse) ได้อีกด้วย จึงเป็นเครื่องจักรทรงประสิทธิภาพที่จะช่่วยลดต้นทุนการขนส่งและลดพื้นที่ในการเก็บรักษาชานอ้อยสำหรับธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลได้เป็นอย่างดี...หาข้อมูลเพิ่มเต็มได้ที่ www.bestbioenergy.com


        


 
 www.bestbioenergy.com

No comments:

Post a Comment